
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
วิชาชีพวิศวกรรมเครื่องกลเป็นหนึ่งในวิชาชีพที่ผลิตบัณฑิตเขาสู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย
ของประเทศทั้ง 5 กลุ่ม
นอกจากนี้หลักสูตรเองได้ส่งเสริมให้บัณฑิตมีทักษะด้านนวัตกรรมและทักษะความเป็น ผู้ประกอบการ รวมไปถึงการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทํางานกับภาคเอกชนเพื่อให้บัณฑิต สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกเทคโนโลยีในปัจจุบัน
ข้อมูลหลักสูตร
Bachelor Degree
Mechanical Engineering
ปริญญาและสาขาวิชา
- ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)
- ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Engineering (Mechanical Engineering)
- ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)
- ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Eng. (Mechanical Engineering)
รูปแบบของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรระดับ 2 ปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2553
- วิศวกร
- อาจารย์ นักวิจัย
- นักวิชาการ
- ประกอบธุรกิจส่วนตัว
ความสำคัญ
วิชาชีพวิศวกรรมเครื่องกลเป็นสาขาหนึ่งที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของโลก
ผลิตภัณฑ์เกือบทุกสิ่งรอบตัวเราล้วนมีความเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเครื่องกลไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น รถยนต์ เครื่องบิน เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรกลต่างๆ รวมไปถึงการผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่ว่าจะใช้พลังงานจากน้ำ กระแสลม แสงอาทิตย์ ตลอดจนอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ อุตสาหกรรมเกษตร การเกษตรอัจฉริยะ การแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร แม้แต่ด้านการแพทย์ การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเครื่องกลจึงมีผลกระทบต่อคนหมู่มาก ด้วยเหตุนี้ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลจึงถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในสาขาวิชาวิศวกรรมควบคุมของสภาวิศวกร ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ผลิตวิศวกรเครื่องกลที่มีคุณภาพ ได้รับการยอมรับจากตลาดแรงงานมาตั้งแต่ พ.ศ. 2537
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
เพื่อผลิตวิศวกรที่มีความรู้และความสามารถในการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม เครื่องกล สามารถออกแบบงานทางวิศวกรรมเครื่องกลได้ และสามารถประยุกต์ความรู้เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาที่พบในการทำงานได้
-
เพื่อผลิตวิศวกรที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สื่อสารได้ดี และปรับเปลี่ยนบทบาทในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
-
เพื่อผลิตวิศวกรที่ตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ในการทำงาน
-
เพื่อผลิตวิศวกรที่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวิจัย เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
- ELO1 สามารถแก้ปัญหาทางวิศวกรรมเครื่องกล โดยใช้หลักการทางวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และ
คณิตศาสตร์ - ELO2 สามารถใช้ความรู้ในการออกแบบงานทางวิศวกรรมเครื่องกล โดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อ
ผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ - ELO3 สามารถสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ต่อผู้รับสารที่หลากหลาย
- ELO4 ปฏิบัติงานโดยตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกรรมต่อตนเอง ผู้ว่าจ้าง ผู้ร่วมวิชาชีพ และต่อสังคม
- ELO5 สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความขยันหมั่นเพียรและมีจิตสาธารณะ
- ELO6 สามารถพัฒนาออกแบบการทดลอง วิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง โดยใช้หลักการทาง
วิศวกรรมเพื่อหาผลลัพธ์ที่ต้องการได้ - ELO7 สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
- วิศวกรเครื่องกลในภาคเอกชน
- วิศวกรเครื่องกลในภาครัฐ รวมถึงรัฐวิสาหกิจต่างๆ
- ผู้ประกอบการอิสระ
- นักวิจัยด้านวิศวกรรมเครื่องกลในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
- นักวิชาการในสถาบันการศึกษา
- ผศ.ดร.ขวัญชัย ไกรทอง (ประธานหลักสูตร)
- ผศ.ชูพงศ์ ช่วยเพ็ญ
- ดร.ศลิษา วีรพันธุ์
- ดร.สุรัตน์ ปัญญาแก้ว
- ดร.ปองพันธ์ โอทกานนท์