
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
เน้นผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ ทันที และมีศักยภาพสูงในการพัฒนาตนเองให้เข้ากับลักษณะงานทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงความเข้าใจ ในผลกระทบต่อเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมต่อสังคมกลุ่ม
Master of Engineering (Mechanical Engineering)
ข้อมูลหลักสูตร
ตัวหลักสูตรมีการปรับโครงสร้างหลักสูตรโดยวางกลยุทธ์ให้ นิสิตได้มีโอกาสเลือกศึกษาทั้งในเชิงลึกในกลุ่มวิชาทางวิศวกรรมเครื่องกลที่สนใจ และเชิงกว้างโดยให้เลือกศึกษา ในกลุ่มอื่นๆ แล้ว ภาควิชาฯ ยังได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศจำนวน 2 ศูนย์ และ 1 Unit Research
Master Degree
Mechanical Engineering
ปริญญาและสาขาวิชา
- ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)
- ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Engineering (Mechanical Engineering)
- ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วศ.ม. (วิศวกรรมเครื่องกล)
- ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Eng. (Mechanical Engineering)
- วิศวกร
- อาจารย์ นักวิจัย
- นักวิชาการ
- ประกอบธุรกิจส่วนตัว
รูปแบบของหลักสูตร
- หลักสูตรระดับ 4 ปริญญาโท ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
- หลักสูตร 2 ปี ศึกษาได้ไม่เกิน 5 ปีการศึกษา
ความสำคัญ
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล จัดเป็นสาขาพื้นฐานที่สำคัญในงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ มีขอบข่ายงานกว้างขวาง
อาทิเช่น การผลิต ออกแบบ และการบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องยนต์ งานในอุตสาหกรรม พลังงานหมุนเวียน ยานยนต์ไฟฟ้า การออกแบบและวิเคราะห์ยานยนต์ อากาศยาน ระบบทำความร้อนและความเย็น เรือ ระบบการผลิต จักรกลและอุปกรณ์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เกษตรกรรมและการแปรรูป และงานในลักษณะอื่นๆ อีกมากมาย ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศในอนาคต
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
เพื่อให้นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับทฤษฏีทางคณิตศาสตร์ และพื้นฐานของระบบที่เกี่ยวข้องกับ วิศวกรรมเครื่องกล
-
เพื่อพัฒนาให้นิสิตสามารถเสนอแนวทางการแก้ปัญหา พัฒนา หรือออกแบบระบบทางวิศวกรรมเครื่องกลที่นิสิตเลือกศึกษา
-
เพื่อให้นิสิตสามารถเลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือที่เหมาะสม ตลอดจนวางแผนการทดลองและการวิจัยได้ด้วยตนเอง หรือผ่านการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
-
เพื่อให้นิสิตสามารถค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการและประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
-
เพื่อผลิตนิสิตระดับมหาบัณฑิตศึกษาในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ให้สามารถอธิบายเกี่ยวกับสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น ตลอดจนจริยธรรมและจรรยาบรรณในการทำวิจัยได้
-
เพื่อให้นิสิตสามารถวิเคราะห์เชิงตัวเลขและสื่อสารทางวิชาการได้
- ELO1 สามารถอธิบายจริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย ตลอดจนพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญา
- ELO2 สามารถอธิบายทฤษฏีทางคณิตศาสตร์ และพื้นฐานระบบที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเครื่องกล
- ELO3 สามารถออกแบบ แก้ปัญหา หรือพัฒนาระบบทางวิศวกรรมเครื่องกลที่เลือกศึกษา
- ELO4 สามารถเลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อทำการวิจัย
- ELO5 สามารถค้นคว้าข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์และฐานข้อมูลทางวิชาการ และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้
- ELO6 สามารถวางแผนการทดลองและขั้นตอนการวิจัยได้ด้วยตนเองหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
- ELO7 สามารถวิเคราะห์เชิงตัวเลขและสื่อสารทางวิชาการได้
- งานที่เกี่ยวกับวิชาการทางสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลในสถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย เช่น อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ เป็นต้น
- เจ้าหน้าที่ นักวิจัย หรือวิศวกรประจำหน่วยงานของรัฐ องค์การมหาชน ตลอดจนองค์กรวิสาหกิจ ที่ดำเนินการเกี่ยวกับวิศวกรรมเครื่องกล เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมธุรกิจพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมควบคุมมลพิษ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมทั้งหน่วยงานด้านการทหาร เป็นต้น
- นักวิจัย หรือนักวิชาการในบริษัทเอกชน
- ประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านวิศวกรรมเครื่องกล